เรียบเรียงโดย ดร. สุกัลยา ตันติวิศวรุจิ นักวิจัย สถาบันการเรียนรู้
การขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่นักวิจัยไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้มั่นใจว่างานวิจัยที่นักวิจัยดำเนินการอยู่จะไม่ละเมิดสิทธิหรือทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกไม่ปลอดภัย การขอรับรองโครงการวิจัยนี้เป็นเหมือนตัวช่วยที่ทำให้นักวิจัยได้คิดรอบด้านมากขึ้น ทั้งในเรื่องการอธิบายข้อมูลอย่างชัดเจน การขอความยินยอมอย่างตรงไปตรงมา และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง/อาสาสมัคร อย่างเป็นธรรม โดยหลักการพื้นฐานมาจาก The Belmont Report (National Commission, 1979) ซึ่งกล่าวถึง 3 เรื่องหลัก ดังนี้ การเคารพในความเป็นมนุษย์ (Respect for Persons), การทำประโยชน์ให้มากที่สุด (Beneficence), และ ความยุติธรรม (Justice) ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง/อาสาสมัคร ดังนั้นการขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์ที่มีไว้เพียงเพื่อ“ให้ผ่านตามขั้นตอน” ของข้อกำหนดในสถาบันเท่านั้น แต่เป็นการสร้างมาตรฐานที่ดีให้กับงานวิจัยของนักวิจัยที่มีจรรยบรรณและตระหนักถึงคุณค่าให้เกียรติผู้เข้าร่วมวิจัยในฐานะมนุษย์ซึ่งควรได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพ
ระยะเวลาและขั้นตอนการขอรับรองการประเมินจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์โดยการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำหรับโครงการวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาภายใน มจธ. สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://ethics.kmutt.ac.th/irb/
เอกสารอ้างอิง
เอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่อง “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำหรับอาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่บุคลากร นักศึกษาปริญญาโทและเอก” ครั้งที่ 1/2568 (รอบต่ออายุ แบบออนไลน์) ในวันพุธที่ 19 มีนาคม 2568 เวลา 13.30-16.30น.จัดโดยงานจรรยาบรรณและธรรมาภิบาลการวิจัยสำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตร มจธ.
National Commission for the Protection of Human Subjects of Biomedical and Behavioral Research. (1979). The Belmont Report: Ethical principles and guidelines for the protection of human subjects of research. U.S. Department of Health, Education, and Welfare.
https://www.hhs.gov/ohrp/regulations-and-policy/belmont-report/index.html สืบค้น ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2025