สาระสำคัญจากการบรรยายหัวข้อ “เทคโนโลยีกับการศึกษายุค Next Normal”  

feather-calendarPosted by พชรพร เจริญวินัย feather-calendarPosted on 14 กรกฎาคม 2023 document
  • ,
  • Pedagogy
  • ,
  • Education technology
แชร์

Generation กับรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่าง 

การรับรู้และเข้าใจความแตกต่างของคนในแต่ละ Generation เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้  

หากพิจารณาถึงรูปแบบการเรียนรู้ในแต่ละ Generation สามารถอธิบายความแตกต่างกันได้ดังนี้ 

  • คนรุ่น Gen Y คือคนที่เกิดช่วงปี 1981 – 1996 มี Learning style แบบ Interactive คือการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ เกิดการตอบโต้ซึ่งกันและกัน เช่น การสอนแบบ Simulation 
  • คนรุ่น Gen Z คือคนที่เกิดช่วงปี 1997 – 2012 มี Learning style แบบ Multi-modal คือการรับรู้จากสื่อในหลากหลายรูปแบบ การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning) 
  • และ คนรุ่น Gen Alpha คือคนที่เกิดช่วงปี 2013 – 2025 จะมี Learning style แบบ Virtual คือการเรียนรู้ด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนผู้เรียน เช่น ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) 

คนรุ่น Gen Alpha นั้นจะเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี ระบบ IT รวมถึงการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ที่เข้ามามีบทบาทและส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นผู้สอนจึงควรเน้นการพัฒนาสมรรถนะ (Competencies) ด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ให้แก่ผู้เรียน รวมถึงการพัฒนา Life Skills เช่น ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต *

Learning trends รูปแบบเทคโนโลยีการศึกษาวิถีใหม่ 

ปัจจุบันเทรนด์การศึกษาปรับไปในรูปแบบของการพัฒนากำลังคน โดยเน้นทักษะที่จำเป็นในการทำงาน พัฒนาผู้เรียนให้พร้อมทำงานหลังจบหลักสูตรหรือจบ Module นั้น ๆ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอน จึงปรับเป็นการเรียนรู้รูปแบบ Module ตามหลักการ Competency based learning  

พฤติกรรมการเสพ Social Media ของมนุษย์ได้ปรับเปลี่ยนจากการอ่านเนื้อหา ดูรูปภาพ เป็นการเสพคลิปวิดีโอสั้นๆ สรุปใจความสำคัญผ่านภาพเคลื่อนไหว เช่น TikTok 

เราในฐานะบุคลากรทางการศึกษาจึงต้องมีความเข้าใจและเพิ่มทักษะที่จำเป็น เพื่อปรับใช้สื่อเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน 

การปรับตัวของระบบการศึกษา 

ปัจจุบันมีผู้พัฒนา Platform หรือ Application ต่าง ๆ มากมายที่ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาการสอน เสริมความเข้าใจและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ เช่น  

1. PhET 

https://phet.colorado.edu/th/

คือ แบบจำลองการเรียนรู้บทเรียนแบบ simulation ด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัย Colorado Boulder สามารถเข้าไปทดลองใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

 

2. Photomath https://photomath.com/ และ  

Microsoft Math https://math.microsoft.com/en 

คือ แอปพลิเคชันทางคณิตศาสตร์ ที่สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ โดยการสแกนโจทย์ปัญหาจากภาพถ่าย คำนวณและแสดงผลลัพธ์ได้ทันที 

3. Mentimeter 

https://www.mentimeter.com/

คือแอปพลิเคชันสำหรับการสร้าง Presentation ที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้ ผ่านกิจกรรมระดมสมอง การแสดงความคิดเห็น โดยผู้สอนสามารถสร้างได้หลายรูปแบบ เช่น คำถามหลายตัวเลือก คำถามปลายเปิด การโหวต เป็นต้น 

4. Quizizz  

https://quizizz.com/?lng=en

คือ แอปพลิเคชันสำหรับสร้างแบบทดสอบออนไลน์ในรูปแบบของเกม ผู้สอนสามารถสร้างข้อคำถามได้หลายแบบ เช่น คำถามหลายตัวเลือก เติมคำ จับคู่ เป็นต้น โดยจะแสดงผลทันทีหลังจบเกม ถือได้ว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในชั้นเรียนพร้อมทั้งได้รับความรู้ไปด้วย 

5. Wheels of names  

https://wheelofnames.com/

คือ เว็บไซต์สำหรับสร้างวงล้อสุ่ม ที่ผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการสอน เช่น การสุ่มชื่อผู้เรียนเพื่อตอบคำถาม การสุ่มลำดับการนำเสนอผลงาน เป็นต้น 

การมาของ AI 

 “The Knowledge Creator” คำ ๆ นี้ถ้าเป็นคน ๆ หนึ่ง ก็อาจนับเป็น ครู อาจารย์ นักวิชาการที่สร้างความรู้ขึ้นมาผ่านการศึกษาทดลอง แต่ปัจจุบัน The Knowledge Creator กลายเป็น Platform อันหนึ่งที่อาศัย AI ในการประมวลข้อมูลความรู้ ซึ่งมาจากการมีฐานข้อมูลจำนวนมหาศาล แล้ว AI สามารถดึงเอาข้อมูลที่มีมาประมวลผลออกมาเป็นชุดความรู้ที่เราต้องการรู้ได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนคือ Chatbot ที่ชื่อ ChatGPT  

สิ่งนี้สร้างความกังวลอย่างมากให้แวดวงการศึกษา เพราะไม่ว่าคุณจะพิมพ์ไปว่าอยากได้ข้อมูลอะไร แม้แต่การเขียน Essay หรือ การแต่งเนื้อเพลงซักเพลง ChatGPT ก็สามารถรังสรรค์ให้คุณได้ 

สิ่งที่นักการศึกษา ครู อาจารย์เริ่มหาแนวทางรับมือกับ ChatGPT พบว่า ในสหรัฐอเมริกา รูปแบบการสอบเริ่มเปลี่ยนเป็นการสอบปากเปล่ามากขึ้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอาจจะสร้างความกังวลใจในช่วงแรก แต่ในอนาคตมนุษย์จะสามารถรับมือและสร้างสรรค์แนวทางที่จะอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีเหล่านี้จนได้ 

Reference 
งานสัมมนาวิชาการ SoTL8 หัวข้อ “เทคโนโลยีกับการศึกษายุค Next Normal “ โดย ดร.สุพจน์ ศรีบุตพงษ์ Head of AIS Academy, Head of Technical Knowledge ManagementAdvanced Info Service Plc 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

pacharaporn , application , Pedagogy , education technology

บทความแนะนำ